7 แนวคิดที่อย่าหาทำ! ถ้าไม่อยากพลาดคอนโดที่ถูกใจ

7 แนวคิดที่อย่าหาทำ! ถ้าไม่อยากพลาดคอนโดที่ถูกใจ

By propso    22 ธ.ค. 2564  ข่าวสาร

7 แนวคิดที่อย่าหาทำ! ถ้าไม่อยากพลาดคอนโดที่ถูกใจ
 



 

    เมื่อต้องมีการย้ายคอนโดที่อยู่อาศัย บางคนก็เกิดอาการลังเลกันใช่มั้ยคะ ว่าจะซื้อที่นี่ดีมั้ย? หรืออยู่ที่เดิมต่อดี? กลัวว่าย้ายไปที่ใหม่ก็อาจจะไม่ดีเท่าที่เก่า กลัวว่าจะตัดสินใจผิดพลาด พาลคิดจนปวดหัว ไม่ต้องกังวลแล้วค่ะ บทความนี้รวม 7 แนวคิดทางจิตวิทยา ที่จะเตือนคุณว่าแนวคิดไหนเป็นแนวคิดที่อย่าหาทำ เมื่อต้องเลือกคอนโดใหม่
 

แนวคิดที่ 1 แบบนี้...ก็ดูน่าจะดีนะ
 

    เคยมั้ยคะ เลือกซื้อนมจืดกิน อ่านฉลากเจอคำว่า “non-fat 95%” แล้วก็รู้สึกดีต่อสุขภาพจังเลยปราศจากไขมัน 95% แต่ถ้าเขียนว่า “fat 5%” ล่ะ เห้ย! ไขมันตั้ง 5% เลยนะ วางไว้ที่เดิมดีกว่า จะเห็นได้ว่าคนจะชอบฉลากที่เขียนว่า “non-fat 95%” มากกว่า ทั้งที่ก็เป็นนมเหมือนกันแท้ ๆ 

    
    การใช้คำนำเสนอที่ดีแบบนี้ดูมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ตกหลุมพราง จริง ๆ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Framing effect หรือ คำพูดชี้เป็นชี้ตาย คืออคติก่อเกิดขึ้นในใจขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้นถูกนำเสนอแบบไหนนั่นเอง เกี่ยวอะไรกับการเช่าคอนโดนะ? 



 

    จากภาพจะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้เลือกเช่า/ซื้อ ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการเลือกที่อยู่อาศัย คือ คำพูดโฆษณาที่ใช้คำพูดที่ดูดี เช่น ลักษณะห้องเป็นแนวอบอุ่น ซึ่งความจริงอาจจะเป็นห้องแคบ และแออัด ยิ่งถ้าเป็นการศึกษาแบบออนไลน์แล้วต้องควรระวังอย่างยิ่ง

แนวคิดที่ 2 ไม่อยากย้าย ลงทุนไปตั้งเยอะ 

 

    “อยู่มาตั้งนาน ซื้อของตกแต่งไปก็มาก” เสียดายมากจนไม่อยากย้ายไปลงทุนกับที่ใหม่เลย พฤติกรรมนี้ถูกเรียกว่า Loss Aversion หรือ การหลีกเลี่ยงการสูญเสีย คือ พฤติกรรมที่คนจะหลีกเลี่ยงการสูญเสีย เพราะการสูญเสียนั้นฝังใจกว่าการได้รับถึง 2 เท่า (ลองเปรียบเทียบอาการของคุณเมื่อเก็บเงินได้ 100 บาท และทำเงินหาย 100 บาท) 



 

    อย่าหาทำ!! เพราะคุณจะไม่อยากย้ายไปที่ใหม่เพราะเสียดายที่เก่ามาก ๆ จนลืมนึกถึงประโยชน์ที่ได้จากที่ใหม่ เช่น ใกล้ที่ทำงานกว่า หาของกินได้ง่ายกว่า แต่ค่าเช่าเท่าเดิม อย่าให้ความเสียดายมาขัดผลประโยชน์ที่คุณจะได้ในอนาคต
 

แนวคิดที่ 3 ที่แรกที่เจอนี่แหละ น่าสนใจที่สุด 
 

    "ไปดูมากี่ที่ ๆ ก็ไม่น่าสนใจเท่าที่แรกที่ไปดูเลย ทำไมถึงดึงดูดใจแบบนี้นะ..." ไม่ใช่เพราะผีเจ้าที่ดลบันดาลใจแน่นอนค่ะ มันคือปรากฏการณ์ Anchoring Bias ที่ทำให้คุณยึดติดข้อมูลชิ้นแรกที่ได้รับมากเกินไป จนปัดตัวเลือกอื่น ๆ ตกหมด 

    
    เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่ายกับใครหลายคน แต่อย่าให้เกิดเมื่อต้องตัดสินใจเช่า/ซื้อคอนโดเชียว เพราะคุณจะมองข้ามคอนโดที่มีตัวเลือกที่ดีกว่าไปเยอะเลย  ดังนั้นต้องทำใจว่าอย่ายึดติด และหันมาพิจารณาความคุ้มค่า ราคา ไลฟ์สไตล์ จะดีต่อตัวคุณมากกว่านะคะ 




แนวคิดที่ 4 เพราะที่นี่มีสิ่งที่เราอยากได้

    ที่ไหนมีของที่ชอบอยู่ก็อยากจะตัดสินใจอยู่ให้รู้แล้วรู้รอด ไม่ว่าจะเป็น สระว่ายน้ำ วิวสวยไว้ถ่ายลงอินสตาแกรม ฟิตเนสใต้คอนโด ห้องครัวเสมือนเชฟ บาร์ อย่าหาทำ!! คุณกำลังโฟกัสแค่สิ่งที่คุณอยากได้ เรียกว่า Focusing effect  หรือ ปรากฏการณ์พุ่งจุดสนใจ
 


 

    ปรากฏการณ์นี้ทำให้คุณลืมสิ่งอื่นที่มีคุณค่าให้พิจารณาพอ ๆ กัน และอาจจะทำให้พลาดคอนโดที่ไม่มีสิ่งที่คุณต้องการแต่คุ้มค่าที่จะอยู่มากกว่าในหลายเรื่อง เพราะฉะนั้น หยุดคิดเรื่องสิ่งนั้นก่อน แล้วหันมาให้น้ำหนักกับสิ่งที่จำเป็นหรือควรมีอย่างสมเหตุสมผล

 

แนวคิดที่ 5 สะดุดตาจนคาใจ 
 

    "ไปดูคอนโดมาหลายที่ แต่มีที่นึงสภาพในห้องดูโทรมกว่าที่อื่น เจ้าของห้องบอกว่ายังไม่ได้ทำความสะอาดเลยดูโทรม แต่ภาพห้องโทรม ๆ มันก็ตราตรึงใจจริง ๆ " Von Restorff Effect ปรากฏการณ์สิ่งที่เด่นจะทำให้มีแนวโน้มถูกจำได้มากกว่า เหมือนลูกโป่งสีแดงที่อยู่ท่ามกลางลูกโป่งสีเหลืองจะสะดุดตาและเป็นที่น่าจดจำมากกว่า 



 

    อาจจะเห็นได้ไม่มากนัก แต่เมื่อเกิดขึ้นมันจะทำให้คุณโฟกัสกับภาพจำที่ให้ความรู้สึกไม่ดี จนลืมว่ามีสิ่งอื่นที่ควรพิจารณาพอ ๆ กัน (คล้าย Focusing effect ) ทางที่ดีควรนึกถึงภาพรวม เช่น ความคุ้มค่า วัสดุ มากกว่าสิ่งแย่ ๆ สิ่งเดียวที่เจอมากกว่า 
 

แนวคิดที่ 6 แถวนั้นไม่ค่อยดีหรอก 
 

    "คอนโดแถวนั้นก็มีแต่เด็กมหา’ลัยต้องเสียงดังแน่" "คอนโดแถวนี้ก็ดูวุ่นวายน่ากังวล ทำไมตัวเลือกน้อยจัง?" ปรากฏการณ์นี้พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน อาจจะในบริบทอื่น ๆ ก็ได้ เรียกว่าการ Stereotyping หรือ การเหมารวม 



 

    นึกภาพถ้าให้คุณต้องเลือกคอนโดมีแต่นักศึกษา กับคอนโดมีแต่วัยทำงานคุณก็จะเลือกคอนโดที่มีแต่วัยทำงานโดยสัญชาตญาณ เพราะน่าจะสงบมากกว่า เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เยอะมากในการเลือกที่อยู่อาศัย แต่ก็ควรรับรู้ไว้เพื่อช่วยเตือนว่าคุณอาจนำความคิดประเภทนี้ไปช่วยในการตัดสินใจหรือเปล่า อย่างไรก็ตามควรศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมมากกว่าการคิดเหมารวม ซึ่งอาจจะทำให้คุณพลาดคอนโดมีคุณภาพไปได้
 

แนวคิดที่ 7 ไม่ชอบที่นี่เลย รู้สึกไม่ดี 
 

    "ดูคอนโดมาที่นึง ถูกใจมากแต่ติดอย่างเดียวคือเหมือนระแวกบ้านของคนที่เคยบูลลี่เรา! เขาอาจจะอยู่แถวนี้ก็ได้" แล้วมันเกี่ยวอะไรกับที่จะเช่าคอนโดละเนี่ย? อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นน้อยมาก เรียกว่า Illusory Correlation คือ ความคิดในการหาเหตุผลแบบคาดเดาไปเอง 



 

    ปรากฏการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นน้อยก็จริง แต่ก็อาจจะมีบางคนที่เผลอใช้ความคิดแบบไร้ตรรกะในการตัดสินใจเลือกคอนโด ควรหันมาโฟกัสกับความคุ้มค่าและสิ่งที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยจะส่งผลดีมากกว่านะคะ

  • 7 แนวคิดที่อย่าหาทำ! ถ้าไม่อยากพลาดคอนโดที่ถูกใจ

ข่าวน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

แนะนำ